มะระจีนและการเพาะปลูก

Last updated: 31 มี.ค. 2566  |  10411 จำนวนผู้เข้าชม  | 

มะระจีนและการเพาะปลูก

                                                                              มะระจีน (Bitter gourd)

ชื่อวิทยาศาสตร์: Momordiaca charantia L.

ชื่อสามัญ: Bitter gourd, Bitter melon, Bitter cucumber

แหล่งที่มาและถิ่นกำเนิด: เป็นพืชเขตร้อนมีถิ่นกำเนิดมาจากแอฟริกาและเอเชีย มีความนิยมบริโภคในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

                                                                                     การเพาะปลูกมะระจีน

-การเพาะเมล็ด (sowing)

          การเพาะเมล็ดมะระ เริ่มจากการทำลายการพักตัว (Seed dormancy) ด้วยวิธีการตัดเปลือกของเมล็ด เพื่อให้น้ำเข้าไปในเนื้อของเมล็ดได้ แล้วนำเมล็ดไปแช่น้ำอุ่น 40-50 องศา เพื่อให้เกิดการกระตุ้นการงอก เป็นเวลา 4-6 ชั่วโมง นำมาห่อกระดาษหรือผ้า บ่มไว้จนกว่ารากแรกเริ่ม (radicle) จะปรากฏ จากนั้นจึงค่อยนำมาย้ายลงถาดเพาะปลูก

          เมื่ออายุกล้าได้ 10-15 วัน เกิดใบเลี้ยงและใบจริง สามารถนำไปย้ายลงแปลงปลูกได้
                                                                 โครงสร้างเมล็ดมะระ (Bitter gourd seed structure)

-การเตรียมแปลงปลูกและการย้ายกล้าปลูก (Soil preparation and planting)

          การเตรียมแปลงปลูก เริ่มจากการไถ พรวนดิน ปรับสภาพดิน ฆ่าเชื้อในดินด้วยวิธีการโรยปูนขาว (Agricultural Lime or Dolomite) การตากหน้าดิน และการเติมธาตุอาหารลงในดิน อาจจะใช้ปุ๋ยหมัก หรืออินทรีย์วัตถุได้เช่นเดียวกัน

          การขึ้นแปลงปลูกมะระ สามารถขึ้นแปลงหน้ากว้าง 50-70 cm. ได้ ระยะปลูก 70-100 cm. ตามความเหมาะสมของพื้นที่ แปลงขึ้นสูงมากกว่า 15 cm. เพื่อให้รากมีพื้นที่ในการดูดซึมธาตุอาหาร คลุมหน้าแปลงด้วยฟางหรืออินทรีย์วัตถุ เพื่อให้เกิดการรักษาความชุ่มชื่นในดินให้กับแปลงมะระ

                                                                           ระยะกล้าที่สามารถย้ายลงปลูกแปลง

-การตัดแต่งกิ่งและการดูแลรักษา (Management and take care of our plants)

การให้น้ำพยายามรักษาความชุ่มชื่นในดินให้ได้มากที่สุด เพื่อเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นตามอายุในแต่ละช่วง สามารถให้ได้หลายวิธี เช่นการรด การปล่อยน้ำในร่องแปลง การให้ด้วยระบบน้ำหยด

การทำค้างและการติดตาข่าย เพื่อให้ต้นเลื้อยขึ้น สามารถใช้ไม้ไผ่ทำหลักระยะห่าง 2-3 เมตรได้ ขึงตาข่ายสูงไม่เกิน 2.5 เมตร เพื่อง่ายต่อการจัดการและการเก็บผลผลิต และค่อยจัดยอดให้เลื้อยขึ้นตาข่ายเป็นระยะๆ
 การให้ปุ๋ยในระยะเริ่มต้น ใช้ปุ๋ย 46-0-0 (urea) เพื่อบำรุงใบให้เขียวใหญ่ ระยะเวลาในการให้ทุกๆ 5-7 วัน เมื่ออายุต้นได้ 10-15 วันเริ่มให้ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 หรือ 16-16-16 เพื่อบำรุงทั้งต้นและใบ ระยะเวลาในการให้ปุ๋ยเป็นทุกๆ 15 วัน การฉีดพ่นสารเคมี จะเน้นไปที่ยากกำจัดแมลงศัตรูพืช จำพวกเพลี้ยอ่อน แมลงหวี่ขาว ยาป้องกันโรคจำพวกราน้ำค้างและราแป้ง โดยฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน จนอายุได้ 30-40 วัน ให้ใช้สูตรปุ๋ย 13-13-21 และฉีดพ่นอาหารเสริมพวกแคลเซียมโบรอน เพื่อให้เกิดการติดผลที่ดก เมื่อเริ่มพบดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย ที่กำลังเริ่มบาน และติดผล ในระยะเริ่มติดผล ระยะนี้จะต้องมีการป้องกันแมลงวันทองเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการเข้ามาทำลายผลจากแมลงวันทอง ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น การห่อผล (อาจสีผลต่อสีผิวของผล) การติดกาวดักแมลง การติดขวดสารล่อแมลงเมทิลยูจินอล (Methyl Eugenol) ด้วยวิธีการดังกล่าวจนลูกสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ อายุประมาณ 45-55 วันหลังจากเพาะปลูก
                                                                   ลักษณะของดอกตัวเมียและตัวผู้ของดอกมะระจีน

-การเก็บเกี่ยว (Harvesting)

          เมื่อผลอายุจากวันผสมได้ 15-20 วัน สามารถเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ วิธีเก็บเก็บลูกล่างที่เริ่มติดผลก่อน เลือกเก็บจากขนาดที่ไม่แก่มากเกินไปหรืออ่อนเกินไปโดยดูจากสีผิว และลายทางน้ำและหยดน้ำ เก็บใส่ถุงพลาสติกห่อกระดาษหนังสือพิมพ์เพื่อป้องกันการช้ำระหว่างการขนส่ง ใส่ถุงละ 7-9 ลูก (ประมาณ 5 กก.) หมัดปากถุงพร้อมส่งไปขายตามตลาด


                                                                             Bitter gourd Plant growth.

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้